ลอดภายในงานสตรอเบอร์รี่และของดีอำเภอสะเมิงภาคกลางวัน ยังมีการแสดงพื้นบ้าน การร้องเพลงซอ ของเด็กๆเยาวชน อำเภอสะเมิงอีกด้วย เสียงร้องเพลงซอขับขานด้วยทำนอง ที่สนุกสนาน เจื้อยแจ้ว ดังไปเกือบทั่วงาน สามารถเรียกนักท่องเที่ยวที่เดินไปมาภายในงาน ให้เข้ามายืน มาชมกันหน้าเวที ได้อย่างดีถือว่าเป็นสีสรรของงาน ซึ่งในแต่ละปี นั้นน้องๆเหล่านี้ก็จะหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันขึ้นมาแสดงทุกๆปี (ชมคลิปเพลงซอละอ่อนของปี 2554) ถือว่าเป็นการแสดงของงาน ที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียว
เพลงซอ ถือว่าเป็นศิลปะวัฒนธรรมพื้นถิ่นของล้านนา ที่นับวันจะหาดู และหาคนสืบทอดได้ยากมากๆในปัจจุบัน ศิลปะเหล่านี้ดูเหมือนว่า จะเป็นสิ่งที่ล้าสมัย โบราณคร่ำครึ สำหรับน้องๆรุ่นใหม่ในปัจจุบัน แต่ที่นี่สะเมิง ยังมีน้องๆ กลุ่มเล็กๆกลุ่มนี้ ที่ยังช่วยกันสืบสานและอนุรักษ์เพลงซอ ศิลปะพื้นบ้านของล้านนาได้อย่างเหนียวแน่น เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
งั้นเรามาลองฟังฝีไม้ลายมือ ของจั้งซอ ตัวน้อยๆกันดีกว่าครับ ^^
- ซอ คือลักษณะการขับขานร้องเพลงปฏิพากย์ในท้องถิ่นล้านนา แสดงการขับร้องโต้ตอบกันระหว่างชาย-หญิง จัดเป็นเพลงพื้นบ้าน (Folk Song) โดยมีรูปแบบหลากหลายตามท่วงทำนองของดนตรี และการขับร้อง ผู้ซอหรือผู้ขับร้องเรียกว่า “ช่างซอ” (ทรงสิทธิ์ ปรางค์วัฒนากุล 2536)
- ซอ เป็นมหรสพที่นิยมนำมาแสดงในงานสมโภชต่างๆ คือ “ซอ” เป็นเพลงปฏิพากย์ที่ชาวล้านนาในอดีตนิยมฟังด้วยความสนุกสนาน (เสน่ห์ บุญยารักษ์)
- ซอ เป็นเพลงพื้นบ้านล้านนาที่นิยมแพร่หลายมากที่สุด เป็นบทร้องที่นิยมที่สุด ซอเป็นเพลงร้องปฏิพากย์ซึ่งมีคณะซออาชีพรับจ้างไปแสดงในงานปอยต่างๆ ช่างซอประกอบด้วย ชายหนึ่งหญิงหนึ่งร้องโต้ตอบกันเรียกว่า “คู่ถ้อง” และมีดนตรีประกอบ (ลมูล จันทร์หอม 2534)
- ซอ คือการขับร้องอย่างหนึ่งของชาวล้านนา มีลักษณะแตกต่างจากการขับร้องแบบอื่นๆ ที่สำคัญที่สุด คือจะต้องมีดนตรีประกอบเสมอ และเป็นการขับร้องอาชีพ ซึ่งเป็นการขับร้องชนิดเดียวของชาวบ้านที่จะต้องมีคณะหรือวง และเป็นการขับร้องแบบเดียวที่ถือว่าต้องมีการถือครู เช่นเดียวกับศิลปะชั้นสูงอื่นๆโดยทั่วไป (สุรสิงห์ สำรวม 2536)
- ซอ เป็นการขับร้องของชาวล้านนา เป็นชื่อของการขับร้องเป็นการร้องเพลง หรือขับซอทางเมืองเหนือมีหลายทำนองใช้ดนตรีประกอบ (มณี พยอมยงค์ 2540)
- ซอ เป็นวิถีชีวิตที่เกิดขึ้นกับประชาชนชาวล้านนา แสดงถึงความเป้นอยู่ ความคิดทางด้านปรัชญาธรรมอย่างลึกซึ้ง มีคติคำสอนที่ให้ความสำนึกของลูกหลานที่มีต่อบุพการี เช่น ความกตัญญูกตเวทิตา เป็นต้น
- เป็นเครื่องอนุรักษ์ภาษาคำเมืองไว้ให้จดจำไปใช้กันได้ยาวนาน และภาษาถ้อยคำนั้นก็มีความหมายกินใจลึกซึ้งในด้านความคิด
- เป็นการนำเอาสิ่งที่ตนได้ประพฤติปฏิบัติหรือคนในชุมชนท้องถิ่นภาคเหนือได้ประพฤติปฏิบัติเล่าขาน ทำให้นำไปปฏิบัติตามได้ (มณี พยอมยงค์ 2536)
คัดลอกข้อมูลจาก : ซอเพลงพื้นบ้านภาคเหนือ