เรามาทำความรู้จัก กับ “อำเภอสะเมิง” กันก่อนสักนิด
สตรอเบอร์รี่รสเยี่ยม ภูเขาสูงเทียมฟ้า ดอกไม้พันธุ์นานา บรรยากาศสวิสเซอร์แลนด์
ประวัติอำเภอสะเมิงโดยย่อ
เมื่อประมาณ 200 ปี ที่ผ่านมา ระหว่าง พ.ศ. 2250 – 2350 ดินแดนแห่งนี้เป็นป่าใหญ่ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยจตุบาทนานาชนิด และมวลหมู่แมกไม้นานาพันธุ์ซึ่งกาลครั้งนั้นอาณาจักรล้านนาแทบจะลุกเป็นไฟด้วยภัยสงคราม เพื่อแย่งชิงอำนาจระหว่างแว่นแคว้นต่าง ๆ ในราชอาณาจักร การขยายอำนาจของพม่าเป็นการศึกที่สู้รบกันอย่างรุนแรงและยาวนาน ทั้งยังเกิดการจราจลในเมืองเชียงใหม่ สถานการณ์ยุ่งเหยิงวุ่นวายเป็นอย่างยิ่ง ชาวบ้านเดือดร้อน จึงต่างอพยพหลบหนีภัยสงคราม บ้างหนีเข้าป่าไปตายเอาดาบหน้าชาวไทยลื้อและกะเหรี่ยงได้อพยพหลบหนีภัยสงครามเข้าป่าขึ้นเขามายังดินแดนแห่งนี้ และมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้าน ดงช้างแก้วพวกหนึ่ง อีกพวกหนึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านศาลา และพวกที่สามตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ บ้านแม่สาบ (จากคำบอกเล่าของอาจารย์ไกรศรี นิมมานเหมินทร์ นักโบราณคดีเมืองเหนือ) และไทยลื้อบ้านแม่สาบ อพยพเข้ามาอยู่สะเมิงประมาณ พ.ศ. 2324 คำว่า “สะเมิง” ได้กำเนิดขึ้นจากคำว่า “สามเมิง” ตามสำเนียงภาษาไทยลื้อ ที่เรียก “เมือง” ว่า “เมิง” ดังนั้นคำว่า “สามเมิง” ตามความหมายก็คือ คำที่มาจากการตั้งถิ่นฐานทั้งสามบ้าน สามเมือง นั่นเอง บางท่านสันนิษฐานว่ามาจากภาษากะเหรี่ยง ซึ่งมีความหมายว่า “แสงสว่าง”
อำเภอสะเมิง ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2445 ขึ้นตรงต่อจังหวัดเชียงใหม่ เป็นอำเภออยู่ได้ 35 ปี ทางราชการเห็นว่าอำเภอสะเมิงอยู่ในถิ่นทุรกันดาร ห่างไกล การคมนาคมไม่สะดวกและการควบคุมดูแลไม่ทั่วถึง จึงยุบฐานะเป็น “กิ่งอำเภอสะเมิง” เมื่อ พ.ศ. 2480 และต่อมาได้ยกฐานะเป็น “อำเภอสะเมิง” เมื่อเดือนกรกฎาคม 2501 จนถึงปัจจุบัน
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอแม่วาง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอแม่ริม อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ลักษณะภูมิประเทศ
อำเภอสะเมิง มีพื้นที่ทั้งหมด 1,002 ตารางกิโลเมตร หรือ 626,250 ไร่ พื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้ ประมาณ 80% ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นที่ราบ 20% ของพื้นที่ทั้งหมด มีแม่น้ำที่สำคัญ 2 สาย คือ แม่น้ำขานและแม่น้ำสะเมิง พื้นที่การใช้ประโยชน์ของอำเภอสะเมิง เป็นพื้นที่การเกษตร 24,391 ไร่ หรือ ร้อยละ 3.89 ของพื้นที่ทั้งหมด แยกเป็นพื้นที่ปลูกถั่ว 12,184 ไร่ หรือร้อยละ 40.8 ของพื้นที่ การเกษตร พื้นที่ทำสวน 9,769 ไร่ หรือร้อยละ 34.6 ของพื้นที่การเกษตรหรือพื้นที่ทำไร่ 4,223 ไร่ หรือร้อยละ 17.3 ของพื้นที่การเกษตรและ พื้นที่ปลูกซ้ำซ้อนพื้นที่เดิมของพืชสวน 7.1 %
ลักษณะภูมิอากาศ
อากาศเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 35 องศาเซลเซียส และต่ำสุด 8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยโดยทั่วไปประมาณ 22 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 114 มม./ปี โดยวัดปริมาณน้ำฝน สูงสุด 166 มม./ปี ต่ำสุดระหว่างเดือน กรกฎาคม – ตุลาคม
แหล่งข้อมูลอ้างอิง :
วิกิพีเดีย สาราณุกรมเสรี อำเภอสะเมิง
http://samoeng-cm.blogspot.com/
หลากหลายวัฒนธรรม ที่งดงามตามแบบชาวสิบสองปันนา
ด้วยความหลากหลายของชาติพันธุ์ของประชากรอำเภอสะเมิง ไม่ว่าจะเป็นคนพื้นราบ พื้นเมือง หรือคนบนดอยสูง ที่มาอยู่ร่วมกัน แต่แตกต่างทางด้านภูมิประเทศ ความเป็นอยู่ การดำรงชีวิต ความหลากหลายนี้จึงถือว่าเป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่ง ที่ทำให้หลายคนไม่น้อย ที่มีโอกาสมาเที่ยวสะเมิง แล้วคิดถึงและอยากจะกลับมาที่แห่งนี้อีก
วิถีการดำเนินชีวิตของคนสะเมิงแต่ละพื้นที่ มีความแตกต่างกัน การดำเนินชีวิตของคนแต่ละรุ่น ถูกถ่ายทอดเรื่องราวๆต่างๆ ส่งผ่านมายังคนรุ่นหลัง หลากหลายทาง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านผืนผ้าเครื่องแต่งกาย ลวดลายการทอผ้าต่างๆมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น เรื่องราวๆต่างๆในอดีต ถูกซ่อนตรึงอยู่ในผืนผ้า มีเอกลักษณ์งดงาม และใช้ประโยชน์ได้สูงสุด
หลากหลายเรื่องราวที่เกิดขึ้น “ที่นี่ สะเมิง”
EP04 “ผายองบ้านฉัน” นอนนับดาว จิบกาแฟ ท่องเที่ยววิถีลีซู
ลุ่มชาติพันธุ์ลีซู (Lisu) เป็นอีกหนึ่งชาติพันธุ์ที่ยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ประเพณีเป็นของตนเอง และยังคงสืบมาจนถึงปัจจุบันและ ลีซูยังเป็นอีกหนึ่งชาติพันธุ์ ที่มีความโดดเด่นเรื่องเครื่องแต่งกายที่สวยงาม เป็นเอกลักณ์เฉพาะ
ประเพณีประจำปีของลีซู จะเป็นประเพณีกินวอ “กุแซวะ” (ปีใหม่) ถือเป็นประเพณีเฉลิมฉลองปีใหม่ของคนที่นี่ ซึ่งจะจัดกันในช่วงเดือนธันวาคม – มกราคม ของทุกๆปี ซึ่งในแต่ละปีจะไม่ตรงกัน จะถือวันเวลาตามกฤษ์ยามที่แต่ละหมู่บ้านจะหาได้ ซึ่งไฮไลท์สำคัญของประเพณีกินวอ ก็คือหนุ่มสาวจะแต่งตัวสวยงามตามประเพณี แล้วมาพบปะหากันในประเพณีนี้ ซึ่งจะมีกิจกรรมร่วมกันคือ การเต้นจะคึ มีดนตรีการละเล่นต่างๆ เช่นเป่าแคน ดีดซึง เป่าขลุ่ย เป็นที่สนุกสนามมีความสุขกัน
ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู จะมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชาติพันธุ์นี้คือการสร้างความบันเทิงและความร่าเริงออกมาทางการเต้นรำ ร้องเพลง มีการการร้องเพลงตอบโต้ที่มีลักษณะเฉพาะ คือทั้งฝ่ายชายและหญิงจะร้องเพลงตอบโต้กันไปมา แต่ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีความสามารถแต่งเพลงและโต้ตอบในสถานการณ์ต่างๆได้ บทเพลงที่ร้องโต้ตอบไปมาจะไม่มีเนื้อหาตายตัว แต่จะขึ้นอยู่กับทั้งสถานการณ์ตอนนั้นว่าทั้งสองฝ่ายตอบโต้ส่งต่อกันไปมาอย่างไร อาจจะคล้ายกับการโต้วาที แต่เป็นการโต้วาทีด้วยการร้องเพลง
ในอำเภอสะเมิง กลุ่มชาติพันธุ์ลีซู จะมีอยู่ 2 หมู่บ้านคือ ที่บ้านปางขุม หมู่ที่ 1 ตำบลยั้งเมิน และบ้านผายองหมู่ที่ 11 ตำบลแม่สาบ เรายังสามารถที่จะไปชมท่องเที่ยววิถีชีวิตลีซูได้ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ในแต่ละปี
เมื่อนึกถึงบ้านผายอง หลายๆคนคงนึกถึงสถานที่ท่องเที่ยวคือผายอง สิ่งมหัศจรรย์หินตั้งได้ มีลักษณะเป็นก้อนหินสองก้อน วางซ้อนกันเป็นรอยต่อทำมุม 45 องศา ซึ่งชาวบ้านมีตำนานเล่ากันว่า พระพุทธเจ้าได้นำหินมาวางซ้อนกันไว้และมีเทวดา ได้นำด้ายมาร้อยบนหินให้มันตั้งได้จนถึงทุกวันนี้ ผายองยังถือเป็นหินศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านลีซูผายองนับถือ มีเรื่องเล่ากันว่าในสมัยก่อน ผู้เฒ่าผู้แก่ทดลองเอาด้ายขึงตัดรอยต่อหินที่วางต่อกันสองก้อนนั้น ด้ายก็สามารถผ่านทะลุไปได้อย่างอัศจรรย์ และทุกปีชาวบ้านลีซู ประชาชนชาวบ้านโดยทั่วไปจะขึ้นไป สรงน้ำทำพิธีในวันพืชมงคลเป็นประจำทุกๆปี อาจจะถือได้ว่าเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งของบรรพบุรุษในการสร้างเรื่องราวเรื่องเล่า เพื่อให้ชาวบ้านช่วยกันรักษาต้นน้ำลำธาร โดยใช้ผายองเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวให้ชาวบ้านรักและหวงแหนพื้นที่ป่าต้นน้ำนี้เอาไว้
นอกจากนี้บริเวณรอบๆผายอง ยังเป็นสวนหินที่มีลักษณะเป็นก้อนหินวางซ้อนกันคล้ายกับผายองอีกหลายแห่ง พื้นที่โดยรอบเป็นป่าสนเขา สวยงาม บรรยากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี ซึ่งนับว่าเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่เมื่อใครมาเยือนบ้านผายองก็จะหลงใหลในบรรยากาศของที่นี่แทบทุกราย
ผายองตั้งอยู่ที่บ้านผายองหมู่ที่ 11 ตำบลแม่สาบ เป็นพื้นที่สูง 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งชาวบ้านที่นี่นอกจากจะปลูกพืชผักเมืองหนาวแล้ว ยังปลูกกาแฟอีกด้วย
กาแฟผายอง นับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดที่เริ่มเป็นที่สนใจของชาวบ้าน มีคนทำกาแฟหลายรายที่มารับซื้อเมล็ดกาแฟสุก(เชอร์รี่กาแฟ) ถึงที่หรือชาวบ้านบางรายก็จะผลิตกาแฟกะลา เพื่อส่งขายเพื่อนำไปทำกาแฟสารต่อไป อย่างไรก็ดีที่นี่ยังมีคนรุ่นใหม่ที่หันมาพัฒนากาแฟบ้านผายอง ภายใต้วิสาหกิจชุมชนกาแฟบ้านผายอง เพื่อหวังว่าในอนาคตจะทำให้กาแฟของที่นี่มีชื่อเสียง และเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ ที่สามารถปลูกกาแฟให้คนอยู่กับป่าสืบไป
อะต๊ะเบฟาร์ม (อภิสิทธิ์ สินย่าง) หยะจ๊ะเผะการ์เด้นท์ (อดุลวิทย์ สินย่าง) สองพี่น้องตระกูลสินย่าง สองพี่น้องคนรุ่นใหม่กลุ่มแรกๆที่หัน จากวิถีคนเมืองกลับมาใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่บ้านผายอง บ้านเกิดของตนเอง อดุลวิทย์หันหลังให้เกษตรเคมี หันหน้ามาเริ่มทำเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง ควบคู่ไปพร้อมๆกับการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ช่วยกันทำลานที่พักกางเต้นท์ สำหรับให้นักท่องเที่ยวได้มาตั้งเต้นท์ แคมป์ปิ้งไปพร้อมๆกันกับการปลูกผักลงแปลงปลูกเกษตรอินทรีย์ โดยมีพี่ชายอภิทธิ์ มาช่วยกันดูเรื่องการท่องเที่ยวไปพร้อมๆกัน
พื้นที่การเกษตรสองฟาร์มนี้ มีพื้นที่รวมกันกว่า 10 ไร่ ได้เริ่มต้นทำเกษตรอินทรีย์อย่างง่ายๆคือ หาความรู้การทำเกษตอินทรีย์ก่อนเป็นอันดับแรก เรียนรู้ว่าทำอย่างไรถึงจะมีผลผลิต กับทางกลุ่มสะเมิงออร์แกนิค ว่าทำอย่างไร แล้วลงมือทำ โดยเริ่มจากการปลูกพืชผักฤดูตามฤดูกาล ผลผลิตที่ได้ก็นำไปขายร่วมกันกับกลุ่ม มีรายได้จากการทำเกษตรอินทรีย์ จนปัจจุบันสามารถอยู่ได้ในพื้นที่ของตนเองด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์ ทั้งสองคนบอกว่าแค่นี้ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดแล้ว
ส่วนความคาดหวังในอนาคตนั้น หวังเผื่อไว้ว่าการทำการเกษตรอินทรีย์ จะสามารถยกระดับความเป็นอยู่ให้ดียิ่งๆขึ้นไปได้ และคาดหวังว่าจะเป็นตัวอย่างให้ชาวบ้านผายองได้เห็นว่า หากหันมาทำเกษตรอินทรีย์แล้ว สามารถยกระดับความเป็นอยู่ได้ดีขึ้นได้อย่างไร โดยเน้นทำให้ดู ให้เห็นเป็นตัวอย่างก่อนเป็นอันดับแรก
เมื่องานในแปลงเริ่มเข้าที่เข้าทางแล้ว ไอเดียการท่องเที่ยวเพื่อต่อยอดในสิ่งที่ตัวเองมีก็เริ่มเกิด สองพี่น้องเริ่มใช้พื้นที่ในแปลงของตัวเองเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาตั้งเตนท์ ตั้งแคมป์ปิ้ง โดยคิดค่าบริการเป็นรายคน หากใครต้องการอยากที่จะท่องเที่ยวชนเผ่าวิถีลีซู หรืออยากให้พาไปชมสถานที่สำคัญๆในหมู่บ้านผายอง เช่น หินผายอง ป่าสนเขา ชมวิวทิวทัศน์ ท่องเที่ยวชมการดริปกาแฟ ชมวิถีชีวิตของพี่น้องชาติพันธุ์ลีซู ก็มีบริการในราคาพิเศษ
จุดเริ่มต้นเล็กๆนี้ถือเป็นอีกหนึ่งจุด อีกหมุดหมายสำคัญของการเริ่มต้นของเขาทั้งสองและของชาวบ้านผายอง จะสำเร็จตามที่ตั้งใจตั้งเป้าหมายไว้นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่รอเวลา เป็นเครื่องพิสูจน์ ขอเป็นแรงใจช่วยให้สำเร็จลุล่วงดังที่ตั้งเป้าหมายไว้ครับผม
F anpage
หยะเจ๊ผะการ์เด้น เป็นเพจที่คนรุ่นใหม่ของคนบ้านผายอง ร่วมกันช่วยขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงวิถีลีซู ให้บริการเรื่องที่พัก ลานกางเต้นท์ และพาเที่ยวชมผายอง ชมวิถีลีซูว่ามีวัฒนธรรมความเป็นอยู่อย่างไร สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของพวกเขาได้ผ่านเพจนี้
จุดชมทิวทัศน์ป่าสะเมิง (อุทยานแห่งชาติขุนขาน)
ชวนมาสักการะพระเจ้าตาเขียว น้อมนมัสการรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธบาท (วัดป่ากล้วย) อำเภอสะเมิง
15 เรื่องสนุกๆเกี่ยวกับสตรอเบอร์รี่ที่คุณอาจจะยังไม่รู้
EP01 ” เ ชี ย ง ใ ห ม่ – ส ะ เ มิ ง – บ่ อ แ ก้ ว – กั ล ย า ณิ วั ฒ น า วันเดย์ทริป ทริปจบแต่คนไม่เคยจบ (ที่จะรักสะเมิง) “
สารพัดประโยชน์ของสตรอว์เบอร์รี ที่คุณคาดไม่ถึง
หนาวนี้… ไปเก็บสตรอเบอร์รี่ที่สะเมิงกันเถอะ
‘ราชาผลไม้สีแดงประโยชน์เยอะ’ หนาวนี้… ไปเก็บสตรอเบอร์รี่ที่สะเมิง
สตรอเบอร์รี่สีแดงสดใส กลิ่นหอมหวาน เต็มไปคุณค่ามากมาย จนถูกยกย่องให้เป็นผลไม้เพื่อสุขภาพและความงามกันเลยทีเดียว เนื่องจากในสตรอเบอร์รี่นั้นมีสารต้านอนุมูลอิสระได้แก่ แอนโทไซยานิน (Anthocyanin), เคอซิติน (Quercetin) และ เคมเพอรอล (Kaempferol) ซึ่งสารเหล่านี้มีประโยชน์มากมาย
10 ท่าฮิต เมื่อมาพิชิตทะเลหมอก พระธาตุดอยนก
ทุ่งดอกเก๊กฮวยบาน ที่บ้านอมลอง สะเมิง
ของกินสะเมิงบ้านเฮา เลือกเอาเตอะนาย
พาชมทะเลหมอก บนพระธาตุดอยนก
ระธาตุดอยนก ถือได้ว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิของบ้านแม่สาบ อำเภอสะเมิง เป็นศาสนสถานสำหรับให้ชาวบ้านได้มาสัการะบูชา และกราบไหว้เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ และเป็นศิริมงคลแก่ชาวบ้าน
มาทำความรู้จักสตรอเบอร์รี่สายพันธุ์ต่างๆกัน
จากทุ่งข้าวสาลี กลายมาเป็นท้องทุ่งดอกปอเทือง
วงนี้ ช่วงฤดูปลายฝนต้นหนาว สะเมิงนอกจากจะให้บรรยากาศที่เขียวขจี ชุ่มชื้นไปด้วยไอฝนปนไอหมอกแล้ว ที่นี่ยังมีท้องทุ่งดอกปอเทือง ที่เหลืองอร่ามสุดลูกหูลูกตา ไว้คอยต้อนรับเพื่อนๆนักท่องเที่ยวได้มาเยี่ยมชมกันอีกด้วย
วันเดียวเที่ยว 5ไร่สตรอเบอร์รี่ดังของสะเมิง
เคยได้ยิน “เพลงซอละอ่อนสะเมิง” ไม๊ครับ ^^
กิจกรรม ภายในงาน “วันสตรอเบอร์รี่หวาน สาวงามเมืองสตอรฯ” ยังมีอีกมากมายหลายอย่างมาก
แต่ที่เป็นที่สะดุดสายตาและสะดุดหู จนใครหลายๆคนเมื่อได้ยินได้เห็นแล้ว ต้องหยุดมอง
วิถีชีวิตของคน ที่นี่ สะเมิง (minimal is maximal)
ทำบุญสร้างบันได ขึ้นสู่พระธาตุดอยนก สะเมิง
ากที่ได้มีโอกาสขึ้นไปสักการะพระธาตุดอยนก บนยอดดอยสูงลิ่วของอำเภอสะเมิง แล้วหลายรอบนั้น มาครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งเหมือนกันที่ขึ้นไปไหว้พระธาตุ และเริ่มมีคำถามเล็กๆ ขึ้นมาในใจ
ถ้ำหลวงแม่สาบ Unseen in สะเมิง
เก็บสตรอเบอร์รี่ ยังไงให้อยู่นาน ?
พาสักการะ “พระธาตุดอยนก” สิ่งศักดิ์สิทธิคู่เมืองสะเมิง
พื่อนๆ หลายๆคน อาจจะได้มีโอกาสไปเที่ยวที่สะเมิง และได้มีโอกาสแวะชมและชิม ไร่สตรอเบอร์รี่ หลากหลายไร่ กันมาแล้ว แต่คาดว่าจะมีน้อยคนนัก ที่จะมีโอกาสได้รู้ สถานที่สักการะ สิ่งศักดิ์สิทธิ คู่เมืองสะเมิง
ทุ่งข้าวสาลี ที่นี่ ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง
ลายๆคน เมื่อนึกถึงสะเมิง แล้วก็คงจะคิดถึงแต่ สตรอเบอร์รี่แสนหวาน บรรยากาศแสนโรแมนติก อาจจะถูกในระดับหนึ่ง แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่า สะเมิงยังมีแหล่งท่องเที่ยวอีกหลากหลายมากๆ มีหลายสถานที่
รวบรวม เหล่าศรัทธาในพระพุทธศาสนา องค์พระธาตุดอยนก
ระธาตุดอยนก เดิมเล่ากันว่า ในอดีตที่ผ่านมา บนยอดดอยนั้นมีสระน้ำใหญ่ และก็มีฝูงนกอาศัยอยู่ เป็นจำนวนมาก เล่ากันว่าในยามค่ำคืนวันเพ็ญ
หลังคาสะเมิง “ม่อนอังเกตุ”
อยม่อนอังเกตุ ยอดดอยสูง ในเขต อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เส้นทาง ออฟโรด ผ่านขุนเขาสลับ ซับซ้อน และผ่าน หมู่บ้านชาวเขา หลายชนเผ่า ทั้ง กะเหรี่ยง ลีซอ
แช่น้ำคลายหนาวที่ “น้ำพุร้อนโป่งกวาว”
ขอแนะนำว่าคุณต้องไม่พลาดโอกาสไปเที่ยว “น้ำพุร้อนโป่งกวาว”
ทำบุญถวายพระประธาน ถวายผ้าป่าเพื่อสร้างบันไดนาค ขึ้นสู่พระธาตุดอยนก
ก็เสร็จสิ้นไปแล้วสำหรับการทำบุญถวายพระประธาน
ผ้าทอไทลื้อ แม่สาบ ลวดลายศิลปะบนผืนผ้า ที่อยู่คู่กับชุมชนมาช้านาน
สะเมิงถือได้ว่าเป็นแหล่งเพาะปลูกสตรอเบอร์รี่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จนใครๆต่างขนานนามสะเมิงว่าเป็น
เมืองหลวงสตรอเบอร์รี่