­

EP04 “ผายองบ้านฉัน” นอนนับดาว จิบกาแฟ ท่องเที่ยววิถีลีซู

ลุ่มชาติพันธุ์ลีซู (Lisu) เป็นอีกหนึ่งชาติพันธุ์ที่ยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ประเพณีเป็นของตนเอง และยังคงสืบมาจนถึงปัจจุบันและ ลีซูยังเป็นอีกหนึ่งชาติพันธุ์ ที่มีความโดดเด่นเรื่องเครื่องแต่งกายที่สวยงาม เป็นเอกลักณ์เฉพาะ

ประเพณีประจำปีของลีซู จะเป็นประเพณีกินวอ “กุแซวะ” (ปีใหม่) ถือเป็นประเพณีเฉลิมฉลองปีใหม่ของคนที่นี่ ซึ่งจะจัดกันในช่วงเดือนธันวาคม – มกราคม ของทุกๆปี ซึ่งในแต่ละปีจะไม่ตรงกัน จะถือวันเวลาตามกฤษ์ยามที่แต่ละหมู่บ้านจะหาได้ ซึ่งไฮไลท์สำคัญของประเพณีกินวอ ก็คือหนุ่มสาวจะแต่งตัวสวยงามตามประเพณี แล้วมาพบปะหากันในประเพณีนี้ ซึ่งจะมีกิจกรรมร่วมกันคือ การเต้นจะคึ มีดนตรีการละเล่นต่างๆ เช่นเป่าแคน ดีดซึง เป่าขลุ่ย เป็นที่สนุกสนามมีความสุขกัน

ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู จะมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชาติพันธุ์นี้คือการสร้างความบันเทิงและความร่าเริงออกมาทางการเต้นรำ ร้องเพลง มีการการร้องเพลงตอบโต้ที่มีลักษณะเฉพาะ คือทั้งฝ่ายชายและหญิงจะร้องเพลงตอบโต้กันไปมา แต่ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีความสามารถแต่งเพลงและโต้ตอบในสถานการณ์ต่างๆได้ บทเพลงที่ร้องโต้ตอบไปมาจะไม่มีเนื้อหาตายตัว แต่จะขึ้นอยู่กับทั้งสถานการณ์ตอนนั้นว่าทั้งสองฝ่ายตอบโต้ส่งต่อกันไปมาอย่างไร อาจจะคล้ายกับการโต้วาที แต่เป็นการโต้วาทีด้วยการร้องเพลง

ในอำเภอสะเมิง กลุ่มชาติพันธุ์ลีซู จะมีอยู่ 2 หมู่บ้านคือ ที่บ้านปางขุม หมู่ที่ 1 ตำบลยั้งเมิน และบ้านผายองหมู่ที่ 11 ตำบลแม่สาบ เรายังสามารถที่จะไปชมท่องเที่ยววิถีชีวิตลีซูได้ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ในแต่ละปี

เมื่อนึกถึงบ้านผายอง หลายๆคนคงนึกถึงสถานที่ท่องเที่ยวคือผายอง สิ่งมหัศจรรย์หินตั้งได้ มีลักษณะเป็นก้อนหินสองก้อน วางซ้อนกันเป็นรอยต่อทำมุม 45 องศา ซึ่งชาวบ้านมีตำนานเล่ากันว่า พระพุทธเจ้าได้นำหินมาวางซ้อนกันไว้และมีเทวดา ได้นำด้ายมาร้อยบนหินให้มันตั้งได้จนถึงทุกวันนี้ ผายองยังถือเป็นหินศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านลีซูผายองนับถือ มีเรื่องเล่ากันว่าในสมัยก่อน ผู้เฒ่าผู้แก่ทดลองเอาด้ายขึงตัดรอยต่อหินที่วางต่อกันสองก้อนนั้น ด้ายก็สามารถผ่านทะลุไปได้อย่างอัศจรรย์ และทุกปีชาวบ้านลีซู ประชาชนชาวบ้านโดยทั่วไปจะขึ้นไป สรงน้ำทำพิธีในวันพืชมงคลเป็นประจำทุกๆปี  อาจจะถือได้ว่าเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งของบรรพบุรุษในการสร้างเรื่องราวเรื่องเล่า เพื่อให้ชาวบ้านช่วยกันรักษาต้นน้ำลำธาร โดยใช้ผายองเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวให้ชาวบ้านรักและหวงแหนพื้นที่ป่าต้นน้ำนี้เอาไว้

นอกจากนี้บริเวณรอบๆผายอง ยังเป็นสวนหินที่มีลักษณะเป็นก้อนหินวางซ้อนกันคล้ายกับผายองอีกหลายแห่ง พื้นที่โดยรอบเป็นป่าสนเขา สวยงาม บรรยากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี ซึ่งนับว่าเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่เมื่อใครมาเยือนบ้านผายองก็จะหลงใหลในบรรยากาศของที่นี่แทบทุกราย

ผายองตั้งอยู่ที่บ้านผายองหมู่ที่ 11 ตำบลแม่สาบ เป็นพื้นที่สูง 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งชาวบ้านที่นี่นอกจากจะปลูกพืชผักเมืองหนาวแล้ว ยังปลูกกาแฟอีกด้วย

กาแฟผายอง นับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดที่เริ่มเป็นที่สนใจของชาวบ้าน มีคนทำกาแฟหลายรายที่มารับซื้อเมล็ดกาแฟสุก(เชอร์รี่กาแฟ) ถึงที่หรือชาวบ้านบางรายก็จะผลิตกาแฟกะลา เพื่อส่งขายเพื่อนำไปทำกาแฟสารต่อไป อย่างไรก็ดีที่นี่ยังมีคนรุ่นใหม่ที่หันมาพัฒนากาแฟบ้านผายอง ภายใต้วิสาหกิจชุมชนกาแฟบ้านผายอง เพื่อหวังว่าในอนาคตจะทำให้กาแฟของที่นี่มีชื่อเสียง และเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ ที่สามารถปลูกกาแฟให้คนอยู่กับป่าสืบไป

อะต๊ะเบฟาร์ม (อภิสิทธิ์ สินย่าง) หยะจ๊ะเผะการ์เด้นท์ (อดุลวิทย์ สินย่าง) สองพี่น้องตระกูลสินย่าง สองพี่น้องคนรุ่นใหม่กลุ่มแรกๆที่หัน จากวิถีคนเมืองกลับมาใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่บ้านผายอง บ้านเกิดของตนเอง อดุลวิทย์หันหลังให้เกษตรเคมี หันหน้ามาเริ่มทำเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง ควบคู่ไปพร้อมๆกับการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ช่วยกันทำลานที่พักกางเต้นท์ สำหรับให้นักท่องเที่ยวได้มาตั้งเต้นท์ แคมป์ปิ้งไปพร้อมๆกันกับการปลูกผักลงแปลงปลูกเกษตรอินทรีย์ โดยมีพี่ชายอภิทธิ์ มาช่วยกันดูเรื่องการท่องเที่ยวไปพร้อมๆกัน

พื้นที่การเกษตรสองฟาร์มนี้ มีพื้นที่รวมกันกว่า 10 ไร่ ได้เริ่มต้นทำเกษตรอินทรีย์อย่างง่ายๆคือ หาความรู้การทำเกษตอินทรีย์ก่อนเป็นอันดับแรก เรียนรู้ว่าทำอย่างไรถึงจะมีผลผลิต กับทางกลุ่มสะเมิงออร์แกนิค ว่าทำอย่างไร แล้วลงมือทำ โดยเริ่มจากการปลูกพืชผักฤดูตามฤดูกาล ผลผลิตที่ได้ก็นำไปขายร่วมกันกับกลุ่ม มีรายได้จากการทำเกษตรอินทรีย์ จนปัจจุบันสามารถอยู่ได้ในพื้นที่ของตนเองด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์ ทั้งสองคนบอกว่าแค่นี้ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดแล้ว

ส่วนความคาดหวังในอนาคตนั้น หวังเผื่อไว้ว่าการทำการเกษตรอินทรีย์ จะสามารถยกระดับความเป็นอยู่ให้ดียิ่งๆขึ้นไปได้ และคาดหวังว่าจะเป็นตัวอย่างให้ชาวบ้านผายองได้เห็นว่า หากหันมาทำเกษตรอินทรีย์แล้ว สามารถยกระดับความเป็นอยู่ได้ดีขึ้นได้อย่างไร โดยเน้นทำให้ดู ให้เห็นเป็นตัวอย่างก่อนเป็นอันดับแรก

เมื่องานในแปลงเริ่มเข้าที่เข้าทางแล้ว ไอเดียการท่องเที่ยวเพื่อต่อยอดในสิ่งที่ตัวเองมีก็เริ่มเกิด สองพี่น้องเริ่มใช้พื้นที่ในแปลงของตัวเองเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาตั้งเตนท์ ตั้งแคมป์ปิ้ง โดยคิดค่าบริการเป็นรายคน หากใครต้องการอยากที่จะท่องเที่ยวชนเผ่าวิถีลีซู หรืออยากให้พาไปชมสถานที่สำคัญๆในหมู่บ้านผายอง เช่น หินผายอง ป่าสนเขา ชมวิวทิวทัศน์ ท่องเที่ยวชมการดริปกาแฟ ชมวิถีชีวิตของพี่น้องชาติพันธุ์ลีซู ก็มีบริการในราคาพิเศษ

จุดเริ่มต้นเล็กๆนี้ถือเป็นอีกหนึ่งจุด อีกหมุดหมายสำคัญของการเริ่มต้นของเขาทั้งสองและของชาวบ้านผายอง จะสำเร็จตามที่ตั้งใจตั้งเป้าหมายไว้นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่รอเวลา เป็นเครื่องพิสูจน์ ขอเป็นแรงใจช่วยให้สำเร็จลุล่วงดังที่ตั้งเป้าหมายไว้ครับผม

Gallery

F anpage

หยะเจ๊ผะการ์เด้น เป็นเพจที่คนรุ่นใหม่ของคนบ้านผายอง ร่วมกันช่วยขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงวิถีลีซู ให้บริการเรื่องที่พัก ลานกางเต้นท์ และพาเที่ยวชมผายอง ชมวิถีลีซูว่ามีวัฒนธรรมความเป็นอยู่อย่างไร สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของพวกเขาได้ผ่านเพจนี้

Contact

ชวนมาสักการะพระเจ้าตาเขียว น้อมนมัสการรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธบาท (วัดป่ากล้วย) อำเภอสะเมิง

ระพุทธบาท วัดป่ากล้วย หลายๆคนคงไม่ทราบมาก่อนว่า ที่นี่ถือเป็นวัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของอำเภอสะเมิง ตั้งอยู่บ้านป่ากล้วยห่างจากตัวอำเภอไปทางบ้านท่าศาลาเพียง 2 กม.เท่านั้นเอง

ของกินสะเมิงบ้านเฮา เลือกเอาเตอะนาย

ลายคนคงมีกิจกรรมยามว่างทำไม่เหมือนกัน บางคนชอบเล่นกีฬา บางคนชอบเล่นเกมสนุกๆ อย่าง Fun88 บางคนชอบท่องเที่ยว บางคนชอบสรรหาที่กินแปลกๆ วันนี้จึงขอแนะนำ อาหารพื้นเมือง ของชาวอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงเชียงใหม่ ที่น่าจะถูกใจทั้งคนชอบเที่ยวและชอบกิน

เคยได้ยิน “เพลงซอละอ่อนสะเมิง” ไม๊ครับ ^^

 กิจกรรม ภายในงาน “วันสตรอเบอร์รี่หวาน สาวงามเมืองสตอรฯ” ยังมีอีกมากมายหลายอย่างมาก

แต่ที่เป็นที่สะดุดสายตาและสะดุดหู จนใครหลายๆคนเมื่อได้ยินได้เห็นแล้ว ต้องหยุดมอง

วิถีชีวิตของคน ที่นี่ สะเมิง (minimal is maximal)

ดู เหมือนว่าในโลกปัจจุบันเราจะคุ้นชินกับชีวิต ที่รวดเร็ว ปรู๊ดปร๊าด ออนไลน์ เร็วไปหมดทุกๆเรื่อง แต่คงจะมีน้อยคนนัก ที่จะรู้ว่าคนอีกฟากหนึ่ง ที่อยู่บนดอยสูง

ทำบุญถวายพระประธาน ถวายผ้าป่าเพื่อสร้างบันไดนาค ขึ้นสู่พระธาตุดอยนก

วายพระประธาน ถวายผ้าป่า เพื่อสร้างบันไดนาค ขึ้นสู่พระธาตุดอยนก อ.สะเมิง เชียงใหม่

ก็เสร็จสิ้นไปแล้วสำหรับการทำบุญถวายพระประธาน

ประมวลภาพประกวดสาวงามธิดาสตรอเบอร์รี่ ’57 สะเมิง

ลังจากงานประจำปี 2557 ของอำเภอสะเมิง งานสตรอเบอร์รี่และของดีอำเภอสะเมิง ครั้งที่ 13 สิ้นสุดไป หลายๆคนที่ได้มีโอกาสมาเที่ยวภายในงาน คาดว่าคงจะเก็บความประทับใจ ตื่นตาเต็มใจ

ประเพณีเดือน ๔ เป็ง

ประเพณีเดือน ๔ เป็ง | ตานข้าวใหม่ เผาหลัวหิงไฟพระเจ้า เผาข้าวหลาม จิ๊บอกไฟปู๋จา

ป็นประจำในทุกๆปี เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือนสี่ อากาศที่เริ่มจะหนาวเย็น เริ่มเยือนมาถึง ชาวบ้านแม่สาบ อ.สะเมิง จะมีประเพณีตานข้าวใหม่(ถวายข้าวที่เก็บเกี่ยวมาใหม่ของฤดูกาลแรก) ซึ่งประเพณีนี้ เป็นประเพณีของชาวล้านนาที่ยึดถือและปฏิบัติกันมาเนิ่นนาน

ผ้าทอไทลื้อ บ้านแม่สาบ

ากจะพูดถึงการท่องเที่ยวในปัจจุบัน ผมมองว่าการท่องเที่ยวนั้นมีพัฒนาการมาตามลำดับ จากแต่เดิมที่ท่องเที่ยวเพื่อจับจ่ายใช้สอย สนองความต้องการขั้นพื้นฐานของตัวเอง 

หลวงปู่ครูบาอินถา พระเกจิอาจาย์ล้านนา

ระครูถาวรมงคลวัตร (หลวงปู่ครูบาอินถา ฐิตธมฺโม)
เจ้าอาวาสวัดยั้งเมิน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ อายุ 93 ปี มรณะภาพอย่างสงบในกุฏิของวัดยั้งเมินเมื่อวันที่ 4 ก.ค.2557