­

EP04 “ผายองบ้านฉัน” นอนนับดาว จิบกาแฟ ท่องเที่ยววิถีลีซู

ลุ่มชาติพันธุ์ลีซู (Lisu) เป็นอีกหนึ่งชาติพันธุ์ที่ยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ประเพณีเป็นของตนเอง และยังคงสืบมาจนถึงปัจจุบันและ ลีซูยังเป็นอีกหนึ่งชาติพันธุ์ ที่มีความโดดเด่นเรื่องเครื่องแต่งกายที่สวยงาม เป็นเอกลักณ์เฉพาะ

ประเพณีประจำปีของลีซู จะเป็นประเพณีกินวอ “กุแซวะ” (ปีใหม่) ถือเป็นประเพณีเฉลิมฉลองปีใหม่ของคนที่นี่ ซึ่งจะจัดกันในช่วงเดือนธันวาคม – มกราคม ของทุกๆปี ซึ่งในแต่ละปีจะไม่ตรงกัน จะถือวันเวลาตามกฤษ์ยามที่แต่ละหมู่บ้านจะหาได้ ซึ่งไฮไลท์สำคัญของประเพณีกินวอ ก็คือหนุ่มสาวจะแต่งตัวสวยงามตามประเพณี แล้วมาพบปะหากันในประเพณีนี้ ซึ่งจะมีกิจกรรมร่วมกันคือ การเต้นจะคึ มีดนตรีการละเล่นต่างๆ เช่นเป่าแคน ดีดซึง เป่าขลุ่ย เป็นที่สนุกสนามมีความสุขกัน

ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู จะมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชาติพันธุ์นี้คือการสร้างความบันเทิงและความร่าเริงออกมาทางการเต้นรำ ร้องเพลง มีการการร้องเพลงตอบโต้ที่มีลักษณะเฉพาะ คือทั้งฝ่ายชายและหญิงจะร้องเพลงตอบโต้กันไปมา แต่ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีความสามารถแต่งเพลงและโต้ตอบในสถานการณ์ต่างๆได้ บทเพลงที่ร้องโต้ตอบไปมาจะไม่มีเนื้อหาตายตัว แต่จะขึ้นอยู่กับทั้งสถานการณ์ตอนนั้นว่าทั้งสองฝ่ายตอบโต้ส่งต่อกันไปมาอย่างไร อาจจะคล้ายกับการโต้วาที แต่เป็นการโต้วาทีด้วยการร้องเพลง

ในอำเภอสะเมิง กลุ่มชาติพันธุ์ลีซู จะมีอยู่ 2 หมู่บ้านคือ ที่บ้านปางขุม หมู่ที่ 1 ตำบลยั้งเมิน และบ้านผายองหมู่ที่ 11 ตำบลแม่สาบ เรายังสามารถที่จะไปชมท่องเที่ยววิถีชีวิตลีซูได้ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ในแต่ละปี

เมื่อนึกถึงบ้านผายอง หลายๆคนคงนึกถึงสถานที่ท่องเที่ยวคือผายอง สิ่งมหัศจรรย์หินตั้งได้ มีลักษณะเป็นก้อนหินสองก้อน วางซ้อนกันเป็นรอยต่อทำมุม 45 องศา ซึ่งชาวบ้านมีตำนานเล่ากันว่า พระพุทธเจ้าได้นำหินมาวางซ้อนกันไว้และมีเทวดา ได้นำด้ายมาร้อยบนหินให้มันตั้งได้จนถึงทุกวันนี้ ผายองยังถือเป็นหินศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านลีซูผายองนับถือ มีเรื่องเล่ากันว่าในสมัยก่อน ผู้เฒ่าผู้แก่ทดลองเอาด้ายขึงตัดรอยต่อหินที่วางต่อกันสองก้อนนั้น ด้ายก็สามารถผ่านทะลุไปได้อย่างอัศจรรย์ และทุกปีชาวบ้านลีซู ประชาชนชาวบ้านโดยทั่วไปจะขึ้นไป สรงน้ำทำพิธีในวันพืชมงคลเป็นประจำทุกๆปี  อาจจะถือได้ว่าเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งของบรรพบุรุษในการสร้างเรื่องราวเรื่องเล่า เพื่อให้ชาวบ้านช่วยกันรักษาต้นน้ำลำธาร โดยใช้ผายองเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวให้ชาวบ้านรักและหวงแหนพื้นที่ป่าต้นน้ำนี้เอาไว้

นอกจากนี้บริเวณรอบๆผายอง ยังเป็นสวนหินที่มีลักษณะเป็นก้อนหินวางซ้อนกันคล้ายกับผายองอีกหลายแห่ง พื้นที่โดยรอบเป็นป่าสนเขา สวยงาม บรรยากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี ซึ่งนับว่าเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่เมื่อใครมาเยือนบ้านผายองก็จะหลงใหลในบรรยากาศของที่นี่แทบทุกราย

ผายองตั้งอยู่ที่บ้านผายองหมู่ที่ 11 ตำบลแม่สาบ เป็นพื้นที่สูง 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งชาวบ้านที่นี่นอกจากจะปลูกพืชผักเมืองหนาวแล้ว ยังปลูกกาแฟอีกด้วย

กาแฟผายอง นับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดที่เริ่มเป็นที่สนใจของชาวบ้าน มีคนทำกาแฟหลายรายที่มารับซื้อเมล็ดกาแฟสุก(เชอร์รี่กาแฟ) ถึงที่หรือชาวบ้านบางรายก็จะผลิตกาแฟกะลา เพื่อส่งขายเพื่อนำไปทำกาแฟสารต่อไป อย่างไรก็ดีที่นี่ยังมีคนรุ่นใหม่ที่หันมาพัฒนากาแฟบ้านผายอง ภายใต้วิสาหกิจชุมชนกาแฟบ้านผายอง เพื่อหวังว่าในอนาคตจะทำให้กาแฟของที่นี่มีชื่อเสียง และเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ ที่สามารถปลูกกาแฟให้คนอยู่กับป่าสืบไป

อะต๊ะเบฟาร์ม (อภิสิทธิ์ สินย่าง) หยะจ๊ะเผะการ์เด้นท์ (อดุลวิทย์ สินย่าง) สองพี่น้องตระกูลสินย่าง สองพี่น้องคนรุ่นใหม่กลุ่มแรกๆที่หัน จากวิถีคนเมืองกลับมาใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่บ้านผายอง บ้านเกิดของตนเอง อดุลวิทย์หันหลังให้เกษตรเคมี หันหน้ามาเริ่มทำเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง ควบคู่ไปพร้อมๆกับการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ช่วยกันทำลานที่พักกางเต้นท์ สำหรับให้นักท่องเที่ยวได้มาตั้งเต้นท์ แคมป์ปิ้งไปพร้อมๆกันกับการปลูกผักลงแปลงปลูกเกษตรอินทรีย์ โดยมีพี่ชายอภิทธิ์ มาช่วยกันดูเรื่องการท่องเที่ยวไปพร้อมๆกัน

พื้นที่การเกษตรสองฟาร์มนี้ มีพื้นที่รวมกันกว่า 10 ไร่ ได้เริ่มต้นทำเกษตรอินทรีย์อย่างง่ายๆคือ หาความรู้การทำเกษตอินทรีย์ก่อนเป็นอันดับแรก เรียนรู้ว่าทำอย่างไรถึงจะมีผลผลิต กับทางกลุ่มสะเมิงออร์แกนิค ว่าทำอย่างไร แล้วลงมือทำ โดยเริ่มจากการปลูกพืชผักฤดูตามฤดูกาล ผลผลิตที่ได้ก็นำไปขายร่วมกันกับกลุ่ม มีรายได้จากการทำเกษตรอินทรีย์ จนปัจจุบันสามารถอยู่ได้ในพื้นที่ของตนเองด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์ ทั้งสองคนบอกว่าแค่นี้ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดแล้ว

ส่วนความคาดหวังในอนาคตนั้น หวังเผื่อไว้ว่าการทำการเกษตรอินทรีย์ จะสามารถยกระดับความเป็นอยู่ให้ดียิ่งๆขึ้นไปได้ และคาดหวังว่าจะเป็นตัวอย่างให้ชาวบ้านผายองได้เห็นว่า หากหันมาทำเกษตรอินทรีย์แล้ว สามารถยกระดับความเป็นอยู่ได้ดีขึ้นได้อย่างไร โดยเน้นทำให้ดู ให้เห็นเป็นตัวอย่างก่อนเป็นอันดับแรก

เมื่องานในแปลงเริ่มเข้าที่เข้าทางแล้ว ไอเดียการท่องเที่ยวเพื่อต่อยอดในสิ่งที่ตัวเองมีก็เริ่มเกิด สองพี่น้องเริ่มใช้พื้นที่ในแปลงของตัวเองเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาตั้งเตนท์ ตั้งแคมป์ปิ้ง โดยคิดค่าบริการเป็นรายคน หากใครต้องการอยากที่จะท่องเที่ยวชนเผ่าวิถีลีซู หรืออยากให้พาไปชมสถานที่สำคัญๆในหมู่บ้านผายอง เช่น หินผายอง ป่าสนเขา ชมวิวทิวทัศน์ ท่องเที่ยวชมการดริปกาแฟ ชมวิถีชีวิตของพี่น้องชาติพันธุ์ลีซู ก็มีบริการในราคาพิเศษ

จุดเริ่มต้นเล็กๆนี้ถือเป็นอีกหนึ่งจุด อีกหมุดหมายสำคัญของการเริ่มต้นของเขาทั้งสองและของชาวบ้านผายอง จะสำเร็จตามที่ตั้งใจตั้งเป้าหมายไว้นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่รอเวลา เป็นเครื่องพิสูจน์ ขอเป็นแรงใจช่วยให้สำเร็จลุล่วงดังที่ตั้งเป้าหมายไว้ครับผม

Gallery

F anpage

หยะเจ๊ผะการ์เด้น เป็นเพจที่คนรุ่นใหม่ของคนบ้านผายอง ร่วมกันช่วยขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงวิถีลีซู ให้บริการเรื่องที่พัก ลานกางเต้นท์ และพาเที่ยวชมผายอง ชมวิถีลีซูว่ามีวัฒนธรรมความเป็นอยู่อย่างไร สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของพวกเขาได้ผ่านเพจนี้

Contact

ชวนเที่ยวงานเทศกาลสตรอเบอร์รี ของดีอำเภอสะเมิง ครั้งที่ 21 ประจำปี 2567

านเทศกาลสตรอเบอร์รี ของดีอำเภอสะเมิง ปีนี้ก็จัดมาเป็นปีที่ 21 แล้วนะครับเพื่อนๆ

แวะจิบกาแฟ ชมวิวต้นสน ที่ Rachel Coffee and Community @ Cypress Lane

ำหรับใครที่กำลังเดินทางไปเยี่ยมชมอำเภอสะเมิงในช่วงหน้าหนาว (ที่ไม่หนาวมาก) ในช่วงปลายปี 2566 ก่อนขึ้นศักราชใหม่ 2567  วันนี้ผมจะพาไปร้านกาแฟคาเฟ่สุดเก๋ พร้อมมีมุมถ่ายรูปเช็คอินสุดสวยมากมายยให้ทุกคนได้รู้จักกันครับ ร้านนี้ชื่อว่า  Rachel Coffee and Community @ Cypress Lane โดยทำเลที่ตั้งของร้านตั้งอยู่บนเส้นทางหมายเลข 1269 ม อำเภอหางดง-อำเภอสะเมิง เส้นทางมุ่งหน้าสู่อำเภอสะเมิงครับ ที่นี่ยังมีรีวิวดีเยี่ยมใน Google map เมนูอาหารมีทั้งเบเกอร์รี่และอาหารทานเล่นราคาไม่เเรง ราคาที่นักท่องเที่ยวเข้าถึงได้ และอยู่ไม่ไกลตัวเมืองเชียงใหม่มากนักครับ ใช้เวลาเดินทางเพียงประมาณ 35 นาทีจากสนามบิน ขับรถชมวิวชิลด์ๆแป้บๆๆก็มาถึงแล้ววว งั้นเรามาทำความรู้จักร้านนี้กันเลยดีกว่าครับ

จุดชมทิวทัศน์ป่าสะเมิง (อุทยานแห่งชาติขุนขาน)

จุดชมทิวทัศน์ป่าสะเมิงตั้งอยู่ที่กิโลเมตร 24-25 ริมถนนแม่ริม-สะเมิง ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ที่มองเห็นเทือกเขาริมป่าสะเมิง ในฤดูหนาวจะมีทะเลหมอกปกคลุมไปทั่วพื้นที่และสามารถรับชมวิวพระอาทิตย์ตกได้สวยงาม

ชวนมาสักการะพระเจ้าตาเขียว น้อมนมัสการรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธบาท (วัดป่ากล้วย) อำเภอสะเมิง

ระพุทธบาท วัดป่ากล้วย หลายๆคนคงไม่ทราบมาก่อนว่า ที่นี่ถือเป็นวัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของอำเภอสะเมิง ตั้งอยู่บ้านป่ากล้วยห่างจากตัวอำเภอไปทางบ้านท่าศาลาเพียง 2 กม.เท่านั้นเอง

สวนส้มจรินทร์ดา สวนส้มจากลำน้ำขาน สวนส้มจากสะเมิง

วนส้มจรินทร์ดา สวนส้มต้นกำเนิดจากสะเมิงแท้ๆ ทั้งเจ้าของสวน ทั้งเจ้าของส้ม ถ้าพูดถึงสะเมิง เพื่อนๆหลายๆคนอาจจะนึกถึง สะเมิงคือเมืองหลวงสตรอเบอร์รี่ของไทย แต่มาพ.ศ.นี้สะเมิงยังถือกำเนิดสวนส้มหวานๆ สวนส้มปลอดภัยให้เราได้มาชิมมาเที่ยวกันด้วยน๊า วันนี้เราเลยจะขออาสาพาเพื่อนๆไปเที่ยวสวนส้มสะเมิงกัน ว่าแล้วก็ตามกันมาเร้ววว

EP03 เสียงบทเพลง อากาศหนาว ไอหมอก ไร่สตรอเบอร์รี่ และปลาจุ่ม กับไร่นภ-ภูผา

ร่นภ-ภูผา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันใครที่มาเยือนสะเมิง จะต้องผ่านที่นี่ทุ๊กกคน นับว่าไร่นภ-ภูผาจึงขันอาสาเป็นด่านแรกประตูสู่สะเมิงไปโดยปริยาย และยังต้องเป็นด่านสุดท้ายที่คอยโบกมือลา ส่งให้เพื่อนๆเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ แล้วคอยย้ำเตือนเพื่อนๆเสมอว่าถ้ามาเชียงใหม่คราใด อย่าลืมคิดถึงเรา คิดถึงสะเมิงกันด้วยนะจ้ะ

EP02 เช้า สาย บ่ายจรดเย็น หนึ่งวันกับหาที่ กิน ดื่ม ชิลด์ ชิค ที่สะเมิงกัน

มื่อใครๆมาเที่ยวสะเมิง อีกสิ่งหนึ่งที่หลายๆคนมักถามหารองลงมาจากเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวก็คือ ไปกินไปดื่ม ชิลด์ๆที่ไหนกันดี? วันนี้เลยจะขอพาเพื่อนๆไปหาคำตอบกัน

EP01 ” เ ชี ย ง ใ ห ม่ – ส ะ เ มิ ง – บ่ อ แ ก้ ว – กั ล ย า ณิ วั ฒ น า วันเดย์ทริป ทริปจบแต่คนไม่เคยจบ (ที่จะรักสะเมิง) “

วามรู้สึกที่เราอยากจะกลับไปอีก กลับไปสถานที่เดิมๆ ซ้ำๆ เหมือนสถานที่นั้นๆคอยโปรยเสน่ห์ชักชวนให้เรากลับไปสัมผัสทุกครั้งที่มีโอกาส ความรู้สึกประมาณนี้ น้อยครั้งนะที่มันจะเกิดขึ้นกับเรา ถ้าสถานที่นั้นไม่พิเศษจริงๆ น้อยครั้งที่เราจะมีโมเมนต์แบบนั้น

ชวนเที่ยวงานเทศกาลสตรอเบอร์รี ของดีอำเภอสะเมิง ครั้งที่ 19 ประจำปี 2563

านเทศกาลสตรอเบอร์รี ของดีอำเภอสะเมิง ปีนี้ก็จัดมาเป็นปีที่ 19 แล้วนะครับเพื่อนๆ